คุณกำลังมองหาอะไร?

รียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

05.04.2567
162
0
แชร์
05
เมษายน
2567

“เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5”

           ฝุ่น PM 2.5 (Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron) คือ ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เป็น 1 ใน 8 ตัววัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ 

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5

  1. ไอเสียจากรถยนต์หรือการจราจร (จากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ การเผาไหม้น้ำมันดีเซลบวกกับการจราจรที่ติดขัด เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด)
  2. กาศพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า (การเผาใหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะถ่านหิน)
  3. การเผาในที่ดล่งและในที่ไม่โล่ง (การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ของภาคการเกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูก การเผาป่า และการเผาขยะ)

              นอกจากปัจจัยทางด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงแล้ว อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมประเทศไทยหนาแน่นเป็นพิเศษคือ “สภาพภูมิอากาศ” หากเป็นช่วงเวลาที่ลมสงบนิ่งบรรดาสารพิษทั้งหลายก็จะถูกสะสมเอาไว้ในชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อถึงเวลาที่ลมร้อนเริ่มพัดมา ฝุ่นเหล่านี้ก็จะถูกพัดให้ลอยสูงขึ้น และค่อยๆ จางหายไปในที่สุด

กิจกรรมในครัวเรือนส่งผลให้เกิดมลพิษในอากาศได้อย่างไร

  1. การสูบบุหรี่
  2. การจุดธูปเทียน
  3. การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร

การวัดค่า AQI (Air Quality Index) คือ ดัชนีคุณภาพอากาศ
             ดััชนีคุณภาพอากาศที่ใช้อยู่ในประเทศไทยคำนวณโดยเทียบจากมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปของสารมลพิษทางอากาศ 5 ประเภท ได้แก่

สารมลพิษทางอากาศที่ใช้คำนวณ

ช่วงเวลาเฉลี่ย/ชั่วโมง

1.ก๊าซโอโซน

8

2.ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์

1

3.ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์

8

4.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

1

5.ฝุ่นละออง

ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน PM 10

24

ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM 2.5

 

         สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีค่ามลพิษในอากาศสูงเกินมาตรฐาน โดยสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายผ่านแอปพลิเคชั่น Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ

วิธีป้องกันสำหรับประชาชน

  1. การปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในที่พักอาศัย ต้องมั่นใจว่าภายในบ้านหรืออาคารมีการระบายอากาศ และการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
  2. ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่นภายในบ้าน ควรทำความเข้าใจหลักการของอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อการป้องกันที่เหมาะสม รวมทั้งการบำรุงรักษาอุปกรณ์นั้นอย่างถูกต้อง เช่น การล้างแผ่นกรองตามความถี่ของการใช้อุปกรณ์
  3. ปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ
  • ไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดซับฝุ่นละออง ได้แก่ กระถิน มะขาม บุนนาค ขนุน ชาสีทอง มะม่ว

 มะกอกน้ำ

  • ไม้ยืนต้นที่ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชงโค มะเกลือ เสม็ดแดง ข่อย หูกวาง ขนุน เสลา แคฝรั่ง มะเดือ ฝรั่ง พญาสัตบรรณ
  • ไม้ประดับที่สามารถดูดสารพิษทางอากาศได้ดี ได้แก่ หมากเหลือง จั๋ง พลูด่าง ไทรใบเล็ก หนวดปลาหมึก เศรษฐีเรือนใน วาสนาอธิษฐาน

 

ที่มา : กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน