กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
“การป้องกันตนเองจากภัยร้อนทุกกลุ่มวัย”
แบ่งคำแนะนำออกเป็นกลุ่ม ดังนี้
1.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากภัยร้อนสำหรับประชาชนทั่วไป
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆโดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งช่วงอากาศร้อนจัด
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- สวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด กางร่วม ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที ก่อนออกจากบ้าน
- สังเกตอาการตนเอง ดูแลกลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิดหากมีอาการหน้ามืด เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็วให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที
- หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669
2.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากความร้อนสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
- เด็กเล็กดูแลให้ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆโดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ เด็กทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนให้ดื่มนมแม่อย่างเพียงพอ
- หลีกเลี่ยงให้เด็กเล็กดื่มเครื่องดื่มเย็นๆและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไป
- แต่งตัวให้เด็กทารกและเด็กเล็กด้วยเสื้อผ้าหลวมๆน้ำหนักเบา สีอ่อน
- ดูแลให้เด็กทารกและเด็กเล็กอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
- หากไม่มีเครื่องปรับอากาศให้ปิดพัดลมห่างจากตัว อย่าหันพัดลมเป่ามาที่ตัวเด็กโดยตรง ให้เปิดพัดลมแบบส่าย เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศที่ร้อน
- เด็กเล็ก ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านให้สวมหมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กางร่มเพื่อป้องกันแสงแดด ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที ก่อนออกจากบ้าน
- เด็ก 6 เดือนขึ้นไปอาจใช้ครีมกันแดดที่ทำจากสารประเภท Physical Sunscreen และปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
- ห้ามปล่อยให้เด็กมารกและเด็กเล็กอยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังเด็ดขาด
- หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669
3.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากความร้อนสำหรับหญิงตั้งครรภ์
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆโดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำโดยเฉพาะคุณแม่ที่ให้นมลุกต่ำกว่า 6 เดือน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร สถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเปิดพัดลมแบบส่าย อย่าเป่าพัดลมเข้าโดยตรง และเปิดหน้าต่างระบายความร้อน
- หากต้องออกกลางแจ้งสวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด กางร่ม ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกจากบ้าน
- ระมัดระวัง การรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลให้ร่างกายสุญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้คัดจมูก ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตและจิตเวช เป็นต้น
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที หรือติดต่อ 1669
4.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากความร้อนสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆโดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- หากต้องออกกลางแจ้งสวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด กางร่ม ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกจากบ้าน
- เตรียมยาให้พร้อมหากเป้นผู้ป่วยติดเตียงควรดูแลอย่างใกล้ชิดไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพัง
- งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมากและพักผ่อนให้เพียงพอ
- สวมใส่เสื้อสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเปิดพัดลมแบบส่าย อย่าเป่าพัดลมเข้าโดยตรง และเปิดหน้าต่างระบายความร้อน
- ระมัดระวัง การรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลให้ร่างกายสุญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้คัดจมูก ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตและจิตเวช เป็นต้น
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที หรือติดต่อ 1669
5.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากความร้อนสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ ไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุกๆ 15 - 20 นาที ระมัดระวังไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป ควรพกน้ำดื่มติดตัวตลอดเวลา
- หากสูญเสียเหงื่อจากการออกกำลังกายมากควรดื่มเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลลานานในช่วงที่อากาศร้อนจัด ควรออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรเตรียมความพร้อมร่างกาย เพื่อรับมือสภาพอากาศที่ร้อนจัดได้
- ควรสวมใส่ชุดออกกำลังกายที่ระบายความร้อนได้ดี สวมหมวกบังแดด ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกกำลังกายกลางแจ้ง
- สังเกตอาการตัวเอง และผู้ร่วมออกกำลังกายหากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็ว ให้รีบแจ้งผู้ดูแลสถานที่ออกกำลังกาย หรือผู้ใกล้ชิดทันที
- หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669
6.คำแนะนำการป้องกันตนเองจากความร้อนสำหรับผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
- ระหว่างที่ทำงานควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หากอากาศร้อนจัด ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุกๆ 15 – 20 นาที ระมัดระวังไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป และพกน้ำติดตัวตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- เปลี่ยนเวลาทำงาน หลีกเลี่ยงทำงานช่วงอากาศร้อนที่สุดของวัน (เวลา 11.00 – 15.00 น.) แบ่งระยะเวลาทำงานและช่วงเวลาพักผ่อนให้ทำงานสลับกันได้
- สวมใส่ชุดทำงานที่ระบายความร้อนได้ดี สวมหมวกบังแดด ทาครีมกันแดดที่ที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกนอกบ้าน
- หากหยุดการทำงานกลางแจ้งไปนาน เมื่อกลับมาทำงานกลางแจ้งอีกครั้งควรเริ่มจากงานเบาๆ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาปรับตัวกับสภาพอากาศร้อน
- ควรสังเกตอาการตัวเอง และหมั่นสังเกตอาการผู้ร่วมงานหากมีอาการผิดปกติ เช่น ตะคริว ผดผื่น คลื่นไส้ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ให้รีบแจ้งผู้ดูแล หัวหน้างาน หรือผู้ใกล้ชิดทันที่
- ผู้ประกอบการควรอบรมพนักงานในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือติดต่อสายด่วน 1669
7.คำแนะนำการป้องกันตยเองจากความร้อนสำหรับผู้สูงอายุ
- ระหว่างที่ทำงานควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
- สวมใส่เสื้อสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี
- ควรอยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
- หากไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเปิดพัดลมแบบส่ายอย่าเป่าพัดลมเข้าตัวโดยตรง และเปิดหน้าต่าง เพื่อระบายอากาศความร้อน
- หากต้องออกกลางแจ้ง สวมหมวกปีกกว้าง ใส่แว่นกันแดด กางร่วม ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป อย่างน้อย 30 นาที ก่อนออกจากบ้าน
- ระมัดระวัง การรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลให้ร่างกายสุญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้คัดจมูก ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคจิตและจิตเวช เป็นต้น
- หากมีโรคประจำตัวที่แพทย์จำกัดปริมาณของเหลวในร่างกายควรสอบถามแพทย์ว่า ควรดื่มน้ำมากเท่าไหร่ในช่วงที่อากาศร้อน
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ หรือสับสน คลื่นไส้ และหายใจเร็ว ให้รีบแจ้งบุคคลใกล้ชิดทันที หรือติดต่อ 1669
ที่มา : กองประเมินผลกระทบ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข