กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
Let communities Lead: ทุกภาคส่วน ร่วมกัน ยุติเอดส์
วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม ของทุกปี (World AIDS Day)
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันเอดส์โลก (World AIDS Day) เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคเอดส์ ยอมรับและเข้าใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกและในปีนี้ได้กำหนดแนวคิดการรณรงค์ คือ “Let Communities Lead” เป็นการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนให้ชุมชน องค์กร และกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชนที่มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความตระหนักในการป้องกัน และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน ซึ่งจะนำไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ได้ภายในปี 2573
ประเทศไทยเร่งรัดการยุติปัญหาเอดส์ให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2573 โดยมีเป้าหมายในการลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ รายต่อปี ลดการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ไม่เกิน ๔,๐๐๐ รายต่อปี และลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวี และเพศภาวะลง เหลือไม่เกินร้อยละ 10 สถานการณ์เอชไอวีประเทศไทยในปี 2565 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ 561,578 คน ผู้เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ 10,972 คน และคาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 9,230 คน ซึ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวน 4,379 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 47.44 นอกจากนี้ในปี 2565 ยังพบเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีอัตราป่วยโรคซิฟิลิส 59 ต่อประชากรแสนคน และโรคหนองใน 41.9 ต่อประชากรแสนคน เกินกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2573 เป็นอย่างมาก โดยเป้าหมายคือ อัตราป่วยโรคซิฟิลิสและหนองใน (ทุกกลุ่มอายุ) ไม่เกิน 1 ต่อประชากรแสนคน สอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีปี 2562 ที่พบว่ากลุ่มอายุ 15-24 ปี มีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยครั้งล่าสุดที่มีเพศสัมพันธ์เพียงร้อยละ 80 และใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งกับแฟน และคนรักไม่ถึงร้อยละ 40 จะเห็นได้ว่ากลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอย่างมากต่อการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการติดเชื้อรายใหม่ จึงเป็นพลังสำคัญร่วมในการดำเนินงานมุ่งสู่การยุติเอดส์
โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการดำเนินงานด้านนโยบายที่สำคัญเพื่อสนับสนุนประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับบริการด้านการป้องกัน ตรวจคัดกรอง และการดูแลรักษาอย่างครอบคลุม จึงขอเชิญชวนร่วมส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน ทุกชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน เป็นผู้นำในการรณรงค์ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ความสำคัญของการป้องกัน การพกและใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นเรื่องปกติ เพราะการใช้ถุงยางอนามัยเป็นการรับผิดชอบต่อตนเอง คู่และสังคม สามารถรับถุงยางอนามัยได้ฟรีที่หน่วยบริการสุขภาพของรัฐ และภาคประชาสังคมทั่วประเทศ อีกทั้งยังสามารถรับผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง เมนูกระเป๋าสุขภาพ รับได้ที่ รพ. คลินิก และร้านยา ที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบ สปสช.
ไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นควรตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อรู้สถานะการติดเชื้อของตนเอง โดยแนะนำให้ตรวจหลังจากมีพฤติกรรมเสี่ยงประมาณ 1 เดือน สำหรับเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถเข้ารับการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยไม่ต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครอง
คนไทยทุกคนมีสิทธิตรวจเอชไอวี ฟรีปีละ 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทุกแห่ง และยังสามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองเอชไอวีได้ที่สถานบริการองค์กรภาคประชาสังคมที่มีมาตรฐานการจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน ซึ่งเข้าถึงได้ง่ายและมีบริการที่เป็นมิตรกับชุมชนและเยาวชนในพื้นที่ สามารถเช็กรายชื่อหน่วยบริการได้จากเว็บไซต์กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค และเว็บไซต์ Buddy station
นอกจากนี้สามารถตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเองได้ฟรี โดยเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในเมนูกระเป๋าสุขภาพ และรับชุดตรวจไอวีด้วยตนเอง ที่หน่วยบริการสุขภาพของรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ตลอดจนร้านยาที่ร่วมโครงการทั่วประเทศ รายละเอียดและวิธีการใช้ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กรมควบคุมโรค เมื่อตรวจแล้วไม่ติดเชื้อเอชไอวีจะได้รับ การให้คำปรึกษาและบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากพบการติดเชื้อเอชไอวี ควรเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว
ระบบการรักษาได้เร็ว จะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยและโรคติดเชื้อฉวยโอกาสได้ การกินยาต้านไวรัสเร็ว กินต่อเนื่อง ตรงเวลา สม่ำเสมอ จะช่วยกดปริมาณไวรัสในกระแสเลือดได้สำเร็จ จนตรวจไม่พบเชื้อ ลดการถ่ายทอดเชื้อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ทั้งนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กร ชุมชน และทุกคน ในการร่วมสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พกและใช้ถุงยางอนามัยให้เป็นเรื่องปกติ ตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อมีความเสี่ยง และรีบเข้ารับการรักษาทันทีเมื่อทราบว่าติดเชื้อ เพื่อให้ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนเข้าถึงบริการป้องกัน การตรวจและการดูแลรักษาอย่างครอบคลุม นำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มุ่งสู่การยุติเอดส์ในปี 2573 ต่อไป
ที่มา : กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค